Ebola-Zaire virus

11 ม.ค. 65
Ebola virus อยู่ใน family ที่เรียกว่า Filoviridae นักวิทยาศาสตร์แบ่งไวรัสอีโบลานี้เป็น 5 ชนิด 4 ชนิดมีรายงานว่าทำให้เกิดโรคในคนได้แก่ เชื้อ
  1. Ebola-Zaire virus
  2. Ebola-Sudan virus
  3. Ebola-Ivory Coast virus
  4. Ebola-Bundibugyo
อาการของโรคอีโบลา Ebola
หลังจากได้รับเชื้อประมาณ2-21วัน(ระยะฟักตัว) ระยะแรกจะมีอาการดังต่อไปนี้
  • ไข้ หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะอย่างมาก
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
  • เจ็บคอ
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องร่วง
อาการของโรคจะเป็นมากขึ้นเป็นลำดับ และมีอาการ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องร่วงซึ่งอาจจะมีเลือดออกทางเดินอาหาร ถ่ายเป็นเลือด
  • ตาแดง
  • มีผื่นนูน
  • ไอ เจ็บหน้าอก
  • จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • มีเลือดออกทางจมูก ปาก ทวาร หู ตา
  • บวมอวัยวะเพศ
สาเหตุของโรคอีโบลา
เชื้อไวรัสอีโบลาอีโบลา Ebola พบในสัตว์ เช่น ลิงชิมแปนซี

การติดต่อจากสัตว์สู่คน คนจะได้รับเชื้อไวรัสอีโบลาจากสารหลั่งของสัตว์ทาง
  • เลือดของสัตว์ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารสัตว์ป่าที่ไม่สุก
  • ของเสียของสัตว์ เช่นอุจาระค้างคาวในถ่ำ

การติดต่อจากคนสู่คน
  • สำหรับผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นหากยังไม่เกิดอาการ คนจะติดเชื้อเมื่อดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด
  • สำหรับบุคลากรทางการแพทย์จะติดเชื้อนี้หากไม่ป้องกันตัวเองเช่น ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่สวมถุงมือ ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงจะเป็นพาหะของโรค

การแพร่เชื้อของโรคอีโบลา
การแพร่เชื้อจากคนสู่คนของอีโบลามีได้หลายวิธีส่วนใหญ่จะแพร่จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งทางการสัมผัสโดยตรง (ผ่านทางเยื่อบุต่างๆเช่น ตา จมูก ปาก และแผลที่ผิวหนัง)โดยผ่านทางการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งเช่น ปัสสาวะ น้ำลาย เหงื่อ อุจาระ อาเจียน น้ำนม น้ำเชื้อ จากคนที่ป่วย
เข็มฉีดยา หรือ syringesที่ปนเปื้อนเชื้อ

สัตว์ที่ป่วย
  • ทางอาหารโดยรับประทานอาหารที่มีเชื้อ(อาหารป่า) ยังไม่มีหลักฐานว่ายุงจเป็นตัวนำเชื้อโรค
  • สำหรับบุคคลากรทางการแพทย์หากไม่สวมหน้ากากอนามัย เสื้อคลุม ถุงมือ แว่นตา จะมีโอกาศติดเชื้อสูง สำหรับผู้ที่หายจะโรคควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์ 3 เดือน หรือให้สวมถุงยางอนามัย
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Ebola
  • ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นหากท่านไปท่องเที่ยวยังถิ่นที่มีการระบาดในอดีต
  • สำหรับนักวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ติดขณะแต่งศพ
  • เจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วย ญาติ เพื่อนใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ผู้ที่ทำอาหารป่า

โรคแทรกซ้อนของไวรัสอีโบลา Ebola อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อ Ebola จะสูง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่
  • หลายอวัยวะล้มเหลว
  • เลือดออกรุนแรง
  • ดีซ่าน
  • สับสน
  • ชัก
  • โคม่าหมดสติ
  • ช็อค

สำหรับผู้ที่หายจากโรคจะใช้เป็นเดือนกว่าร่างกายจะกลับสู่ปกติ และเชื้อจะยังอยู่ในร่างกายหลายสัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้
  • ผมร่วง
  • มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการรับความรู้สึก
  • ตับอักเสบ
  • อ่อนแรง
  • ปวดศีรษะ
  • ตาอักเสบ
  • อัณฑะอักเสบ

การวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยจะค่อนข้างยากเพราะระยะแรกของอาการจะเหมือนกับไข้ไทฟอยด์ หรือไข้มาราเรีย แต่หากได้ประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยหรือไปยังถิ่นระบาด และแพทย์สงสัยก็จะเจาะเลือดตรวจด้วยวิธี
  • enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
  • reverse transcriptase polymerase chain reaction (PCR) ซึ่งจะทำให้วินิจฉัยโรคได้

การรักษาโรคอีโบล่า ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเพียงแค่การให้น้ำเกลือ การรักษาความดันโลหิต การเติมเลือด
  • การให้น้ำเกลืออย่างเพียงพอ และสมดุลของเกลือแร่
  • รักษาความดันโลหิตและออกซิเจนในเลือด
  • รักษาโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

การป้องกันโรคอีโบล่า การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา Ebola ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลา
  • หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อ ก่อนจะไปเที่ยวให้ตรวจสอบพื้นที่ระบาดก่อนท่องเที่ยว
  • ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆโดยใช้น้ำเปลา และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลล์สำหรับล้างมือหากไม่มีน้ำหรือสบู่
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับตนในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย
  • ผักและผลไม้ต้องล้างให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ป่าอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งเช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด น้ำเชื้อของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงของประจำตัวของผู้ป่วยเช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะอาจจะมีเชื้อปนเปื้อน
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เส้ือคลุ่ม แว่นตาเมื่อต้องดูแลผู้ป่วย
  • ศพของผู้เสียชีวิตยังสามารถแพร่เชื้อได้ต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ไม่นอนในโรงพยาบาลที่มีคนป่วยด้วยโรคอีโบลา
  • หากอยู่ในแหล่งระบาดจะต้องเฝ้าดูอาการอีก 21 วัน

สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง เช่นหน้ากากอนามัย แว่นตา เสื้อคลุม ถุงมือ หมวก
  • แยกผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลาจากผู้ป่วยอื่น
  • จัดการเรื่องศพให้ดีเพราะเกิดการแพร่เชื้อจากศพได้
  • แจ้งเจ้าหน้าที่หากท่านสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • ให้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ

ขอขอบคุณ ที่มาจาก : http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/ebola.html#.VD8ymPl_uEN
ข่าวสารอื่นๆ